ยืดอายุมังคุดหลังเก็บเกี่ยวด้วย “ไคโตซาน” สดนานกว่าเดิม 3 เท่า

          “มังคุด” สินค้าเกษตร ได้รับสมญานามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้ (Queen of the Fruit) ในปัจจุบันยังคงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าการตลาดภายในประเทศโดยรวมปีละหลายพันล้านบาท เนื่องจากมังคุดมีรสชาติพอเหมาะและกลิ่นหอมน่ารับประทาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการส่งออกต่างประเทศได้อย่างดีหลายประเทศ

แต่ปัญหาการส่งออกมังคุดที่สำคัญในการเน่าเสียและมีอายุการวางขายในตลาดสั้นโดยเฉลี่ย เพียง 5-6 วัน นั้นเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คุณภาพของมังคุดต่ำลง ส่งผลถึงราคา เนื่องจากต้องใช้เวลายาวนานในการขนส่ง ครั้นส่งไปทางเครื่องบินก็ทำให้ค่าระวางเป็นตัวเพิ่มต้นทุนที่นับว่าอยู่ในระดับสูง แต่เพื่อให้ต้นทุนต่ำลงจึงจำเป็นต้องมีการขนส่งทางเรือง ซึ่งต้องใช้เวลานาน ส่งผลกระทบถึงความสดของมังคุด

ตอนนี้ทางกรมประมงได้มีการค้นพบวิธีการยืดอายุความสดของมังคุดจากสารสกัดที่ได้จาดสัตว์น้ำ โดย นายประสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง ได้กล่าวว่า กรมประมงได้ประสบความสำเร็จในการผลิตไคซานจากเปลือกหรือกระดองของสัตว์น้ำ เช่น เปือกกุ้ง กระดองปู กระดองหมึก ซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้งหรือจำหน่ายในราคาถูก นำมาสกัดเป็นไคโตซานที่กรมประมงค้นพบ สามารถยืดอายุผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มมูลค้าของผลไม้ โดยเฉพาะมังคุด เพราะไคโตซานที่กรมประมงค้นพบ สามารถยืดอายุความสดของมังคุดจาก 10 วัน เป็น 30 วัน และมังคุดเป็นผลไม้ไทยที่ตลาดต่างประเทศต้องการ การยืดอายุความสดของผลไม้ด้วยไคโตซานไม่มีอันตรายเพระผลิตจากธรรมชาติ

ส่วนผู้วิจัยจนประสบความสำเร็จในการผลิตไคโตซานดังกล่าวคือ ดร. อัธยา กังสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและคณะ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง ดร. อัธยา กังสุวรรณ กล่าวว่า ไคโตซานเป็นอนุพันธ์ของไคตินที่เป็นองค์ประกอบหลักของเปลือกสัตว์น้ำพวกข้อปล้อง เช่น กุ้ง ปู และกระดองหมึก มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นสารประกบน้ำตลโมเลกุลยาว ละลายในกรดอินทรีย์ เช่น กรดน้ำส้ม กรดเล็กติก เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการเกษตร การแพทย์ และเครื่องสำอาง โดยก่อนหน้าที่ทางกรมประมงได้มีการทดลองยืดอายุการเก็บรักษาสัตว์น้ำมาแล้ว เช่น ปลาสลิด ที่สามารถเก็บรักษาที่ทอดเป็นเวลานานถึง 2 เดือน โดยไม่เกิดเชื้อรา

ไคโตซาน เป็นสารละลายที่สามารถจับตัวเป็นไฟเบอร์หรือเป็นเยื่อบาง ๆ มีประจุบวกที่สามารถเคลือบติดกับผิวของเปลือกได้ มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้หลายชนิด และสามารถป้องกันการระเหยของน้ำทำให้มังคุดชุ่มชื้น และยังสามารถป้องกันการทำปฏิกิริยาโดยตรงกับออกซิเจนในอากาศกับเปลือกมังคุด ซึ่งสามารถรักษาสีของมังคุดไม่ให้ซีดจางไป และเป็นสารธรรมชาติซึ่งไม่มีผลข้างเคียงกับทั้งสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้ถึงแม้มีการเคลือบสารตัวนี้ไปแล้ว สามารถล้างออกได้ด้วยน้ำเปล่าหรือไม่ล้างก็ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย แต่ไคโตซานในแต่ละชนิดทั้งกุ้ง ปู และปลาหมึก จะเหมาะกับวัตถุประสงค์ต่างกัน เช่น ต้องการนำสารละลายนำไปเคลือบหรือฉีดพ่น นำไปลดหรือนำไปดักจับโลหะหนักในการผลิตน้ำผลไม้ หรือไวน์ให้บริสุทธิ์ เราจึงต้องเร่งศึกษาเรื่องนี้” ดร. อัธยา กล่าวเสริม

จากการศึกษาพบว่า ไคโตซานไม่ว่าจะแช่เย็นหรืออยู่ในอุณหภูมิห้องก็มีคุณสมบัติเหมือนกัน เพียงแต่ว่าสภาพการเก็บรักษาจะมีผลทางอ้อมกับตัวมังคุดเอง ซึ่งไคโตซานอาจคล้ายกับตัวช่วยในการเก็บรักษาให้ยาวขึ้นโดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาบางอย่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เมื่อนำไคโตซานไปเคลือบแล้ว สามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อราหรือพวกปฏิกิริยาที่เรียกกันว่า การเติมออกซิเจนจากอากาศที่เรียกสารเคมีตัวนี้ว่า ออกซิเดชั่น เป็นสารที่ทำให้สีของมังคุดซีดจาง แต่ไคโตซานจะสามารถป้องกันได้ระดับหนึ่ง และเมื่อเคลือบเสร็จแล้วถ้านำไปแช่เย็นก็ยิ่งจะเคลือบไว้ได้นานขึ้น หากนำไว้ในที่อุณหภูมิห้องก็ยังสามารถยืดอายุได้แต่อาจน้อยกว่าการแช่เย็น ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพการเก็บรักษา และยังสามารถป้องกันการระเหยของน้ำได้ระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถเก็บรักษามังคุดได้ในระยะเวลาที่นานกว่าปกติ

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน 306